Pages

Sunday, August 16, 2020

ความจริงความคิด : เงินได้เพราะเหตุออกจากงาน ยื่นภาษีเงินได้อย่างไร - https://ift.tt/2Sk5m8m

apapikirnya.blogspot.com

โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP นักวางแผนการเงิน

ตอนนี้จากวิกฤติ Covid ทำให้ เรื่องออกจากงานเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่เมื่อใกล้เส้นตายการยื่นภาษี ก็เลยมีคำถามว่า แล้วจะยื่นภาษีอย่างไรดีกับเงินก้อนที่ได้มา ไม่ว่าจะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน หรือเงิน early retire (ทำนองจำใจจาก เอ๊ย ร่วมใจจาก) เป็นต้น

ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนนะครับ การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเส้นตายต้องยื่นภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ เป็นการยื่นภาษีสำหรับเงินได้ในปี 2562 นะครับ ดังนั้นถ้าเงินได้ที่ได้รับเพราะออกจากงานในปี 2563 นี้ต้องไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีหน้า (พ.ศ.2564) ภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2564 ครับ แต่อย่างไรก็ตาม เราก็มาดูกันนะว่า เงินได้ครั้งเดียวเพราะออกจากงาน เวลายื่นภาษี ยื่นยังไง

ก่อนอื่นต้องบอกกก่อนนะเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานต้องเสียภาษีนะ มีบางคนเข้าใจผิด คิดว่า ก็เราโชคร้ายโดนเลิกจ้าง ต้องออกจากงานกลายเป็นคนที่ไม่มีรายได้ สรรพากรน่าจะยกเว้นภาษีสำหรับเงินก้อนนี้ให้ คงต้องตอบตามจริงแม้จะทำให้เสียใจครับว่า ต้องเสียภาษีครับ

แต่อย่างไรก็ดี สรรพากรท่านก็ยังปราณี ให้เงินได้เพราะเหตุออกจากงาน สามารถเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่น ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร (นําไปคํานวณในใบแนบ ภ.ง.ด.91, 90) ตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 (ก) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ซึ่งข้อดี คือ เท่ากับเราเอาเงินได้ครั้งเดียวเพราะออกจากงาน แยกยื่นภาษีต่างหากจากเงินได้อื่นของเรา ทำให้ฐานเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีต่ำลง อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยเป็นแบบอัตราก้าวหน้า คือ ยิ่งเงินได้สุทธิสูงเท่าไหร่ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ยิ่งสูงเท่านั้น

แต่เราจะแยกยื่นเงินได้ครั้งเดียวเพราะออกจากงานในใบแนบได้ เราต้องเข้าเงื่อนไขในการแยกคํานวณ ดังนี้

(1) ต้องมีระยะเวลาการทํางานไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม
(2) เฉพาะเงินได้ที่มีการจ่ายในปีภาษีแรกเท่านั้น
(3) เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่นําเงินได้ดังกล่าวไปรวมคํานวณภาษีตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

แปลว่า หากใครออกจากงานโดยอายุงานต่ำกว่า 5 ปีเต็ม ก็ไม่สามารถแยกยื่นเงินได้ครั้งเดียวเพราะออกจากงานในใบแนบได้

แล้วถ้าทำงานหลายที่ การนับอายุงานว่าไม่ต่ำกว่า 5 ปีเต็มนับยังไง จะนับเฉพาะที่ทำงานสุดท้ายหรือนับอายุงานของที่ทำงานเก่ารวมด้วย เรื่องนี้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๕๒) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา ๔๐(๑) และ (๒) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา ๔๘(๕) และมาตรา ๕๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร ระบุเกี่ยวกับเงื่อนไข การนับอายุงานที่สามารถนับอายุงานต่อเนื่องจากนายจ้างเก่ามายังนายจ้างใหม่ได้ ถ้าปฏิบัติดังนี้

1. มีช่วงระยะเวลาที่ออกจากงานจากนายจ้างเก่าและเข้าทำงานกับนายจ้างอีกคนหนึ่งไม่เกินหนึ่งปี หรือเข้าทำงานใหม่กับนายจ้างเดิมซึ่งมีช่วงระยะเวลาที่ออกจากงานและเข้าทำงานใหม่ไม่เกินหนึ่งปี
2. โอนเงินและผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างเก่าไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่
3. ตอนออกจากงานนายจ้างเก่านั้น ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๘(๕) แห่งประมวลรัษฎากร

ถ้าปฏิบัติครบ 3 ข้อ สรรพากรยอมให้นับระยะเวลาการทำงานในระหว่างที่ทำงานกับนายจ้างแต่ละคนเป็นระยะเวลาทำงานด้วย
แล้วเงินได้ครั้งเดียว เพราะออกจากงาน หมายถึงเงินได้อะไรบ้าง

เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน หมายถึงเงินได้ ดังนี้

ก. เงินได้ที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการคํานวณบําเหน็จตามกฎหมาย ว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ข. เงินที่จ่ายจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการ
ค. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ง. เงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคํานวณแตกต่างไป จากวิธีการตาม (ก) อย่างเช่น เงินก้อนที่ได้จาก early retire หรือ ร่วมใจจาก ฯลฯ ที่นายจ้างบางที่จ่ายให้มากกว่าเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานอีก

สรุปง่ายๆ ก็คือ ออกจากงานไม่ว่าสาเหตุไหนก็ตาม ถ้าอายุงานไม่ต่ำกว่า 5 ปีเต็ม ก็สามารถแยกยื่นเงินได้ครั้งเดียวเพราะออกจากงานในใบแนบได้ ส่วนวิธีคำนวณภาษีเงินได้คิดอย่างไร ไว้ค่อยคุยกันต่อครั้งหน้านะ

Let's block ads! (Why?)



"คิด" - Google News
August 15, 2020 at 07:35PM
https://ift.tt/3422ExW

ความจริงความคิด : เงินได้เพราะเหตุออกจากงาน ยื่นภาษีเงินได้อย่างไร - https://ift.tt/2Sk5m8m
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment