Pages

Thursday, July 23, 2020

กรมอุทยานฯ ลั่นไม่คิดปล่อย "เสือโคร่งกรงเลี้ยง" คืนสู่ป่า - ข่าวไทยพีบีเอส

apapikirnya.blogspot.com

กรมอุทยานฯ ยืนยันไม่มีแนวคิดปล่อย "เสือโคร่ง" จากกรงเลี้ยงคืนป่าธรรมชาติ ชี้ไร้สัญชาติญาณสัตว์ป่า ระบุในธรรมชาติยังมีประชากรเพิ่มขึ้น ส่วนเสือของกลางวัดป่าหลวงตาบัว จ.กาญจนบุรี ป่วยเหลือรอดแค่ 51 ตัว ผลพิสูจน์พันธุกรรมพบผสมพันธุ์กันจนเลือดชิดอ่อนแอ

วันนี้ (23 ก.ค.2563) นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช แถลงข่าวการจัดกงานวันเสือโคร่งโลกประจำปี 2563 ซึ่งตรงกับวันที่ 29 ก.ค.ของทุกปี โดยภาพรวมสถานการณ์เสือโคร่งในผืนป่าของไทยในปัจจุบัน พบประชากรเสือโคร่งประมาณ 130-160 ตัว ส่วนใหญ่เป็นเสือโคร่งมากที่สุดบริเวณผืนป่าตะวันตก ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง โดยปี 2553 พบประชากรเสือโคร่งประมาณ 41 และปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 79 ตัว ในระยะเวลาช่วง 10 ปี นอกจากนี้ยังมีพื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มป่าตะวันตก รวมทั้งกลุ่มป่าเขาเขียว ที่มีประชากรเสือโคร่งเพิ่มขึ้น

แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเสือโคร่ง เกิดจากการป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของเสือโคร่ง การป้องกันลักลอบการล่าด้วยการเดินลาดตะเวนเชิงคุณภาพ และนโยบายการอนุรักษ์โคร่ง และประชาชนที่เข้ามาสนับสนุน ทำให้ไทยได้รับการยอมรับเป็นประเทศผู้นำของการอนุรักษ์เสือโคร่งในระดับโลก

มั่นใจว่าขณะนี้ควบคุมปัญหาการลักลอบล่า และค้าเสือจากธรรมชาติได้แล้ว เรื่องนี้เป็นผลจากการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ขณะเดียวกันพล.อ.ประวัตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ยังกำชับเรื่องโครงการสร้างถนนตัดผ่านป่า เพราะต้องคำนึงถึงบ้านของสัตว์ป่า

ไม่นำเสือกรงเลี้ยงปล่อยคืนป่า

นายสมปอง ทองสีเข้ม ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ กล่าวถึงกรณีข่าวจะนำเสือจากกรงเลี้ยงไปคืนสู่ธรรมชาติ โดยยืนยันว่ากรมอุทยานฯไม่มีแนวคิดนี้ เพราะประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติยังมีการขยายพันธุ์ได้ดี พบลูกเสือเกิดใหม่หลายพื้นที่ การที่เสือเพิ่มหมายถึงป่าสมบูรณ์ และมีเหยื่อของเสือเพียงพอ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องนำเสือจากกรงเลี้ยงไปปล่อยขยายพันธุ์ในป่า

เสือในกรงเลี้ยงไม่สามารถนำไปปล่อยคืนสู่ป่าได้ เพราะอาหารที่กินในกรงเป็นของที่ตายแล้ว ส่วนเสือในป่า เมื่อเกิดมา 2-3 ปียังต้องอยู่กับแม่เพื่อฝึกสัญชาติญาณ หากนำไปปล่อยจะเป็นภาระและเกิดปัญหาตามมา ที่ยั่งยืนที่สุดคือทำให้ถิ่นอาศัยสมบูรณ์ และเสืออยู่ได้

อ่านข่าวเพิ่ม "เสือโคร่ง" ของกลางป่วยหัดสุนัข-อัมพาตลิ้นกล่องเสียงตาย 86 ตัว

เสือวัดหลวงตาบัว เหลือรอดแค่ 51 ตัวพบเลือดชิด

นายสมปอง กล่าวถึงกรณีเสือโคร่งของกลางวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี ซึ่งหลังจากกรมอุทยานฯนำเสือโคร่ง 147 ตัวไปดูแลที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน และเขาประทับช้าง จ.ราชบุรี ตั้งแต่ปี 2559 และช่วงปลายปี 2562 พบเสือเริ่มตายจากปัญหาโรคหัดสุนัขและอัมพาตลิ้นกล่องเสียงในเสือตายไปเหลือเสือของกลาง จำนวน 51 ตัว หรือคิดเป็นร้อยละ 60-70% สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะเสือเกิดจากพ่อแม่ที่สายเลือดชิดเกินไปทำให้เกิดความอ่อนแอ

จาการการเก็บพันธุกรรมของเสือของกลาง และพิสูจน์หาความเป็นพ่อแม่ลูก ทำให้พบว่าเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกัน ขณะนี้มีการทำผังพันธุกรรมของเสือทั้งหมดแล้ว 

ทั้งนี้ผลการตรวจพิสูจน์พันธุกรรม ความสัมพันธ์พ่อแม่ลูก กรณีเสือโคร่งวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี ซึ่งจัดทำโดยทีมนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ พบว่าในปี 2542-2543 มีเสือพ่อแม่พันธุ์เพียง 7 ตัว ต่อมาปี 2546-2550 มีการขยายพันธุ์เสือโคร่งรุ่นที่ 2 อีก 11 ตัว และเสือโคร่งรุ่นที่ 3 ระหว่างปี 2551-2559 จำนวน 103 ตัว 

สำหรับการจัดงานวันเสือโคร่งโลกปี 2563 กรมอุทยานฯ ร่วมกับ 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดงานวันเสือโคร่งโลก ภายใต้แนวคิด "ป่าไทยไม่ไร้เสือ Road for Thai Tigers" ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค - 2 ส.ค.นี้ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี! เจอตัวครั้งแรกเสือโคร่งตัวผู้ตั้งชื่อ "สลักพระไทเกอร์ 001"

ย้อนเส้นทางเสือโคร่งของกลาง 147 ตัว

แกะรอยเส้นทางแพร่ "โรคหัดสุนัข" ภัยเงียบคร่าเสือ 86 ชีวิต

เฝ้าระวังเสือโคร่ง 44 ตัว "เครียด-เลือดชิด-ติดโรค" เสี่ยงตายเพิ่ม

Let's block ads! (Why?)



"คิด" - Google News
July 23, 2020 at 02:33AM
https://ift.tt/3fVlYjo

กรมอุทยานฯ ลั่นไม่คิดปล่อย "เสือโคร่งกรงเลี้ยง" คืนสู่ป่า - ข่าวไทยพีบีเอส
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment