Pages

Friday, June 19, 2020

คอลัมน์การเมือง - ตลาดซินฟาตี้ เป็นตัวอย่างของไทยในการคิดเร็ว ทำเร็ว ถ้า COVID-19 กลับมารอบ 2 - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

apapikirnya.blogspot.com

วิธีการของไทยคือระมัดระวังค่อยๆ เปิดประเทศ สัปดาห์ต่อๆไปคงต้องเฝ้าเพื่อเปิดขั้น 4 แล้วโรคจะกลับมาหรือไม่

รัฐบาลไทยค่อยๆ คิดและค่อยๆ ทำ โดยสำรวจปัญหาต่างๆ อย่างรอบคอบ คือคิดช้า รอบคอบ เชื่อในตัวเลขและวิทยาศาสตร์โดยมีคณะแพทย์แนะนำ และท่านนายกฯปฏิบัติตาม ทำให้ COVID-19 ในไทยลดลงอย่างมาก

ใช้วิทยาศาสตร์นำในการลดจำนวนผู้ป่วย เพื่อเปิดประเทศให้คนไทยเริ่มมีรายได้ มีงานทำ เป็นขั้นเป็นตอน และคนไทยมีวัฒนธรรมมีวินัยเชื่อฟังผู้นำไปปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งทุนทางวัฒนธรรมของคนไทยและคนตะวันตกต่างกัน

- รักษาห่างทางสังคม

- ล้างมือบ่อยๆ

- ใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า

ที่จะต้องระวังคือ สัปดาห์นี้มีข่าวใหญ่มากจากประเทศจีนในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง คนจีนติดCOVID-19 จากตลาดขายส่งผักและผลไม้ใหญ่ที่สุดของปักกิ่ง ชื่อ ซินฟาตี้(Xinfadi) กว่า 158 คน ทำให้รัฐบาลต้องแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว สั่งปิดชุมชนกว่า 20 แห่ง การปิดโรงเรียนและตรวจสอบ Test ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับตลาดซินฟาตี้กว่า 200,000 คนปิดสายการบินกว่า 80% ซึ่งจีนเน้นคิดเร็ว ทำเร็ว แก้ปัญหา

สิงคโปร์ ปัจจุบันยังแก้ปัญหาไม่ตกเพราะโรคระบาดมารอบ 2 ปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสมกว่า 40,000 คน

ส่วนญี่ปุ่นก็เช่นกันโรคระบาดกลับมาอย่างรวดเร็วในรอบ 2 ต้องปิดประเทศอีกครั้ง

Daniel Kahneman

ขณะเดียวกันเกาหลีใต้ก็มีระบาดรอบ 2 จึงมีความวิตกว่าไทยเปิดขั้น 4 แล้ว ถ้าผู้ป่วยกลับมาเมืองไทยกลับมาอีกรอบ 2 จะทำอย่างไร ถ้าไทยไปได้ดีอย่างนี้อาจจะเปิดให้มีการท่องเที่ยวระดับระหว่างประเทศที่เรียกว่า Bubble ระหว่างประเทศ

ถ้าในไทยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นรอบ 2 แบบหลายประเทศ การคิดและแก้แบบช้าๆ ชนะเล็กๆ คงไม่ได้แล้ว คงต้องใช้วิธีคิดเร็วและทำเร็วแต่ยังคงใช้หลักวิทยาศาสตร์ ต้องเตรียมพร้อมไว้ก่อน เป็นช่วงที่จะต้องทำทุกอย่างเร็วให้ได้ผล

ในหนังสือ Thinking Fast and Slow เขียนโดย Daniel Kahneman เขาบอกว่าในอดีตพฤติกรรมของมนุษย์ทางเศรษฐศาสตร์เน้นการหากำไรสูงสุด โดยเน้นราคาหรือรายได้ Kahneman บอกว่าพฤติกรรมทางมนุษย์อาจคิดเร็วเพราะสัญชาตญาณและอารมณ์พาไปได้ แต่บางครั้งต้องคิดช้าเพราะต้องมีข้อมูลคิดเป็นระบบเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ แบบเศรษฐศาสตร์แบบเดิม ถ้าขาดทุนก็ไม่ทำ จึงเห็นได้ว่ามีนักการพนันมากมายที่รู้ว่าเล่นแล้วอาจจะหมดตัวก็ยังเล่นอยู่ ดังนั้นเศรษฐศาสตร์แนวพฤติกรรมคือแนวใหม่ อาจจะคิดเร็วและคิดช้าได้ตามสถานการณ์ที่แตกต่างๆ

เขาแนะนำว่า ชีวิตคนเราทั้งตัวเองและระดับประเทศจะต้องคิดช้าๆ แบบไทย ในการจัดการแก้ COVID-19 โดยค่อยๆ เปิดประเทศรอให้ตัวเลขผู้ป่วยนิ่งแล้วศึกษาและออกกฎระเบียบมาเป็นขั้นเป็นตอนเรียกว่าคิดช้าๆ ใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อย่างรอบคอบชนะเล็กๆ แต่ชนะไปเรื่อยให้มีเคอร์ฟิว ซึ่งในที่สุดได้ผล ถ้าไม่มีรอบ 2 กลับมา วิธีการคิดช้าๆ อย่างรอบคอบ ชนะเล็กๆ แต่ยั่งยืนก็ถือว่าถูกต้องแล้ว

ผมเรียกแนวทางของผมคือ ชนะเล็กๆ แต่ชนะไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา ที่การแพทย์ไทยแนะนำรัฐบาลทำได้ดี แต่การ์ดอย่าตก

แต่ถ้าโรคกลับมาในประเทศไทยอีกรอบดังตัวอย่าง คือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ต้องคิดเร็วทำเร็ว ไม่ใช่คิดเพราะอารมณ์พาไป แต่คิดเร็วด้วยวิธีการเหมาะสม เพื่อจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น จีน ทำในปักกิ่ง มีคนป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลปิดตลาดและปิดชุมชนกว่า 20 แห่ง และตรวจ (Test and Trace)หาคนที่เกี่ยวข้องกับตลาดซินฟาตี้ กว่า 200,000 คน ซึ่งเข้าแนวคิดเร็ว เพื่อแก้ปัญหารอบ 2

หนังสือ Thinking Fast and Slow เขียนโดย Daniel Kahneman

ดังนั้นในอนาคตถ้าโรค COVID-19 กลับมา รัฐบาลประยุทธ์และฝ่ายแพทย์ จะคิดช้าไม่ได้ ต้องเตรียมวางแผนที่คิดเร็วใช้จัดการปัญหาให้สำเร็จ

จึงเรียนมาว่า การคิดเร็ว ชนะเร็วคือการแก้ปัญหา COVID-19 ที่อาจกลับมารอบ 2 คนไทยต้องเตรียมตัวเตรียมใจที่จะปรับตัว รวมทั้งรัฐบาลในการคิดเร็ว คิดแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาด

แต่ในช่วง 3 เดือนแรก ของไทยที่ผ่านมา การคิดช้าๆ อย่างรอบคอบ มีการวิเคราะห์ วิจัย มีการแก้ข้อมูลตรวจสอบ ทำงานเป็นทีม จึงทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากโลกภายนอก จึงเป็นช่วงที่คิดช้าๆ แต่รอบคอบและชนะเป็นช่วงๆ

ในประวัติศาสตร์โรคระบาดมักจะกลับมาอีกหลายรอบ คนไทยต้องเตรียมใจไว้และพร้อมที่จะคิดเร็ว ทำเร็วให้ได้ผลแบบที่จีนจัดการ COVID-19 รอบ 2ที่ปักกิ่ง กล้าตัดสินใจ แก้ปัญหาซึ่งถ้าแก้ได้ก็เรียกว่ารัฐบาลไทยมีความสามารถครบวงจรเพราะหลายๆประเทศทั้งเกาหลี หรือสิงคโปร์และจีน ล่าสุด เจอปัญหากลับมารอบ 2 และกำลังแก้ปัญหา รอบ 2 อยู่

จึงเป็นบทเรียนสำหรับระดับบุคคล คิดเร็ว คิดช้าซึ่งวาระในการแก้ COVID-19 โดยมีข้อแนะนำจากหนังสือของ Daniel Kahneman ในองค์กรหรือประเทศขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ คือเผื่อไว้พร้อมคิดเร็วหรือคิดช้าในการจัดการ COVID-19 แบบระมัดระวังเป็นขั้นเป็นตอนอย่างที่ผ่านมา

การคิดช้ารอบคอบ ชนะเล็กๆ ชนะบ่อยๆ ทำได้ดีในการแก้ COVID-19 ช่วงแรกและนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ถ้าโรคกลับมาต้องคิดเร็ว ทำเร็ว จึงจะป้องกันแก้ไม่ให้เกิดการกลับมาของ COVID-19 รอบ 2 ในประเทศไทย

จีระ หงส์ลดารมภ์

dr.chira@hotmail.com

Let's block ads! (Why?)



"คิด" - Google News
June 19, 2020 at 12:00PM
https://ift.tt/2UVSucT

คอลัมน์การเมือง - ตลาดซินฟาตี้ เป็นตัวอย่างของไทยในการคิดเร็ว ทำเร็ว ถ้า COVID-19 กลับมารอบ 2 - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment