Pages

Monday, June 15, 2020

นิรุฒ มณีพันธ์ "รถไฟต้องคิดใหม่ทำใหม่" ยกระดับมาตรฐานขนส่งคน-สินค้า - ประชาชาติธุรกิจ

apapikirnya.blogspot.com
สัมภาษณ์พิเศษ

จากนายแบงก์วันนี้ “นิรุฒ มณีพันธ์” วัย 51 ปี ได้นั่งเก้าอี้ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คนที่ 29 รันงานอย่างเต็มตัว ตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย. 2563 ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบันร่วม 2 เดือนที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรเก่าแก่ที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนสนธยา แถมมีหนี้สินติดตัวกว่า 1.76 แสนล้านบาท

“ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษผู้ว่าการการรถไฟฯคนใหม่ กับภารกิจพลิกฟื้นองค์กร ท่ามกลางสถานการณ์โควิดและเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยเป็นใจ

Q : เป็นคนนอกเข้ามารับตำแหน่งการทำงานมีอะไรหนักใจ

ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะบริหารจัดการ เพราะจริง ๆ แล้วคนรถไฟมีความสามารถ เพียงแต่ทิศทางอาจจะยังไม่ชัดเจน ต่อไปหน้าที่ของผู้ว่าการคงต้องโชว์ทิศทางที่ชัดเจนและเดินหน้าไปด้วยกัน

Q : ภารกิจที่อยากทำให้สำเร็จ

รอพ้นสถานการณ์โควิด-19 ให้ได้ก่อน จากนั้นคงถึงเวลาต้องปรับปรุงในหลาย ๆ เรื่อง เริ่มจากการบริการแล้วก็เรื่องการปรับปรุงคุณภาพด้านต่าง ๆ ทั้งการเดินรถหรือแม้แต่การบริหารทรัพย์สิน จัดระเบียบสัญญาเช่าต่าง ๆ ที่จะหมดสัญญา และการปรับขึ้นค่าเช่าหลังไม่ได้ปรับมา 28 ปีแล้วเพราะปัจจุบันที่ดินของการรถไฟฯไม่มีโฉนด แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันจะใช้ระบบดาวเทียมยิงสแกนที่ดิน ทำให้รู้ชัดเจนที่ดินทั้งประเทศมีทั้งหมดเท่าไหร่แล้วออกโฉนดให้ครบ อ้างอิงกับกรมที่ดินได้ด้วย จากที่รับรู้กันว่ามีอยู่กว่า 200,000 ไร่ รวมเขตราง สถานี และที่ดินลอยแล้ว เริ่มดำเนินการแล้วเมื่อเดือน ก.พ.-มี.ค.ที่ผ่านมา คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 2 ปีนี้

กระทรวงคมนาคมก็อยากเห็นการบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯให้เป็นรูปธรรมและมียุทธศาสตร์ชัดเจน จึงมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาร่วมกับกรมการขนส่งทางราง เพื่อศึกษาและวางยุทธศาสตร์เรื่องนี้ให้ชัดเจน

การดูในระดับกระทรวงจะเห็นภาพที่หลากหลายขึ้น ไม่ได้บอกว่ากลไกภายในรถไฟดีหรือไม่ดียังไง เพียงแต่บอกว่า ลองคิดใหม่ทำใหม่กันดู คาดว่าจะมีการประชุมทุกอาทิตย์ ซึ่งได้ฝากการบ้านกับทางการรถไฟฯหลายเรื่องเหมือนกันว่าจะวางยุทธศาสตร์ยังไง ปัญหาอุปสรรคอยู่ที่ไหน

Q : แผนการหารายได้จากการพัฒนาที่ดิน

อย่างที่รู้ ๆ กัน อย่างเช่น ที่ดินโซนมักกะสันที่เหลือจากโครงการไฮสปีด 3 สนามบิน อยู่ระหว่างศึกษาที่สถานีแม่น้ำและบางซื่อ แต่เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนไป การศึกษาและประเมินว่าใครจะมาลงทุนก็เปลี่ยนไปเยอะ จะต้องรีวิวผลศึกษาเดิมให้ทันสมัย ดึงดูดคนมาสนใจลงทุนที่สถานีแม่น้ำและบางซื่อ แต่ยังคงหลักการเดิม ส่วนมักกะสันยึดตามแผนแม่บทเดิม และรอดูแผนพัฒนาของกลุ่ม ซี.พี.ด้วย ทั้งหมดนี้อยากจะให้เห็นความก้าวหน้าภายในปีนี้

Q : ความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดง

อยู่ระหว่างศึกษาเดินรถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างการรถไฟฯจะเดินรถเองโดยบริษัทลูก คือ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือจะเป็น PPP ให้เอกชนร่วมลงทุนดี ขณะนี้ตั้งคณะทำงานศึกษาแล้วอีก 2-3 เดือนน่าจะมีข้อสรุปชัดเจน แต่เพราะมีขยายเวลาก่อสร้าง ทำให้เลื่อนเปิดบริการในเดือน ม.ค. 2564 ออกไป เร็วสุดน่าจะเป็นกลางปีหน้า ส่วนการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ คณะกรรมการ (บอร์ด) ให้รีวิวใหม่ จะพยายามให้ประมูลในปีนี้ เพราะต้องรองรับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต

Q : การลงทุนโครงการใหม่ ๆ

ปีนี้น่าจะยังไม่มี ตอนนี้เป็นช่วงการบริหารสัญญาแผนงานก่อสร้างโครงการในแผนเดิม เช่น รถไฟทางคู่เฟสแรก รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งยังเป็นไปตามแผนงาน มีล่าช้าบ้างแต่ให้นโยบายให้เร่งงานก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะรถไฟทางคู่ที่กำลังสร้าง 5 เส้นทางอยากให้เสร็จโดยเร็ว เพราะสำคัญและเป็นกระดูกสันหลังการขนส่งและการเดินทางของประชาชนและของประเทศ

Q : การฟื้นฟูภาระหนี้ของการรถไฟฯ

ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ศักดิ์สยาม ชิดชอบ) ให้เร่งดำเนินการตามแผนฟื้นฟูที่มีมานานแล้ว ทางคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) อนุมัติให้ดำเนินการเป็นส่วน ๆ

แต่แผนโดยรวมไม่เปลี่ยน ทุกอย่างยังเดินหน้าและต้องทำให้ได้ตามแผน ถึงจะพลิกฟื้นการรถไฟฯได้ หากทางคู่เกิด การบริหารทรัพย์สินมีประสิทธิภาพ การบริหาร การจัดการขบวนรถเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น ถือว่าเป็นไปตามแผนฟื้นฟู ตอนนี้การดำเนินงานสำคัญกว่าแผน

Q : การเคลียร์พื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบิน

ร่วมกับอีอีซี (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) จากข้อมูลที่ได้รับยังเป็นไปตามแผน จะส่งมอบพื้นที่ได้ในเดือน ม.ค. 2564

Q : ปัญหาขาดแคลนบุคลากร

เปิดรับไปแล้วกว่า 1,300 ตำแหน่ง แต่ติดโควิดจึงติดเรื่องการจัดสอบ ซึ่งกำลังดูว่าจะจัดสอบยังไง

Q : ผลกระทบจากโควิด-19

มีผลต่อผู้โดยสารและรายได้ลดลง ถ้าหวังกำไรเลยคงยากขึ้น แต่รถไฟเราทำเพื่อสังคมแท้ ๆ ในส่วนของการบริการรถไฟชั้น 3 เพื่อสังคมรัฐมีชดเชยให้อยู่แล้ว ส่วนรถปรับอากาศทุกแบบเราเดินรถไม่ได้ แต่จากการปลดล็อกระยะที่ 3 อาจจะทำให้เดินรถได้มากขึ้น กำลังทำแผนการเดินรถอยู่ จะเดินแบบไหน แล้วมาตรการที่ป้องกันโควิดที่มีอยู่จะปรับตัวกับการเดินรถชั้น 1-2 ได้ยังไง หากกลับมาได้จะทำให้มีรายได้มากขึ้น

Q : มาตรการ Social Distancing ผู้โดยสารลดลงได้ขอรัฐเยียวยาหรือไม่

เสนอวงเงินให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา 500-600 ล้านบาท จากผลกระทบช่วงโควิดถึง มิ.ย. มีทั้งการเดินรถและสัญญาเช่าทั่วประเทศกว่า 10,000 สัญญา ที่ผู้เช่าบางส่วนขอลดค่าเช่า

Q : เป้าหมายการมาเป็นผู้ว่าการการรถไฟฯ

อยากเห็นการรถไฟฯเจริญ เป็นองค์กรแนวหน้าของประเทศ ไม่ได้บอกว่าวันนี้ย่ำแย่ แต่อยากให้มาเป็นแนวหน้าในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารของประเทศ ถ้าทำได้ดี อุบัติเหตุบนท้องถนนจะลดลงและการคมนาคมขนส่งของประเทศจะดีขึ้น

Let's block ads! (Why?)



"คิด" - Google News
June 15, 2020 at 08:36PM
https://ift.tt/2zET2fQ

นิรุฒ มณีพันธ์ "รถไฟต้องคิดใหม่ทำใหม่" ยกระดับมาตรฐานขนส่งคน-สินค้า - ประชาชาติธุรกิจ
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment