10 มิถุนายน 2563 | โดย รมย์รัมภา เริ่มรู้
212
การเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจหนึ่งมีการเติบโตจนสามารถเข้ามาทดแทนธุรกิจเดิมจนค่อยๆ ล้มหายไปจากตลาด
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นในวัฎจักรธุรกิจแต่ความรุนแรงและผลกระทบมากหรือน้อยอยู่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่ทันตั้งตัวหรือค่อยเป็นค่อยไปจนผู้บริโภคแทบจะไม่รู้ตัว
วิกฤติไวรัสคือสิ่งที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและสร้างผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุดของรอบวัฎจักรธุรกิจ จนทำให้หลายธุรกิจจำใจต้องปรับเพื่อให้อยู่รอดด้วยการใช้ช่องทางดิจิทัลในการลุยรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างตลาด ฐานลูกค้า และรายได้กำไรในท้ายที่สุด
นาทีนี้แม้แต่ธุรกิจยักษ์ใหญ่ลำดับต้นๆ ของระบบเศรษฐกิจ ‘สถาบันการเงิน’ ก็ไม่สามารถรอดพ้นการเปลี่ยแปลงในรอบนี้ไปได้ ทั้งที่ผ่านมาแบงก์ก็เผชิญความท้าทายมาไม่น้อย ที่ต้องปรับโครงสร้างธุรกิจไปจนโครงการองค์กร เพื่อตอบรับกับเทคโนโลยีและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป
นับตั้งแต่ประกาศฟรีค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านโมบาย แบงก์กิ้ง โดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เป็นรายแรกที่ส่งแรงกระเพื่อมทั้งอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปิดสนามรบใหม่บนแพลตฟอร์มดิจิตอลของกลุ่มธนาคารในวันนี้ จนยอดธุรกรรมบนออนไลน์ทวีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
สวนทางกับธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านสาขา หรือหน้าเคาเตอร์ที่ลดน้อยลง และจะลดลงได้อีกมากในอนาคต การปิดสาขา ลดต้นทุนตัดค่าใช้จ่ายแล้วทันมาทุ่มกับดิจิทัลเพื่อหวังต่อยอดบริการให้กับลูกค้าในอนาคต
จนมาถึงการเปิดตัวแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติไทย ‘Robinhood’ หรือ โรบินฮู้ด ของของ SCB อีกเช่นเดิมที่ต้องกระโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้เพื่อพลิกรูปแบบการให้บริการธนาคารอีก ระรอก เปิดให้บริการในเดือน ก.ค. นี้
ด้วยสินค้าที่ธนาคารเข้าไปให้บริการไม่ได้เป็นธุรกิจหลักเลย แถมอาจจะเป็นการลงทุนที่ทำกำไรได้ช้าด้วยซ้ำ เพราะต้องใช้จุดขายที่แตกต่างจากรายอื่นๆในท้องตลาดที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ จนบนท้องถนนเต็มไปด้วยการขนส่งฟู้ดเดลิเวอรี่
SCB ประกาศว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวสมัครฟรี ไม่มีการเก็บค่า GP ไม่มีชาร์จเพิ่ม ให้เจ้าของร้านอาหารรายย่อยเจอผู้บริโภคโดยตรง ทำธุรกรรมเสร็จได้เงินภายใน 1 ชั่วโมง ส่วนใครส่งมากส่งน้อยให้ถือว่าค่า GP เป็น Pain Point หลักของผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กไปแทน
หากแต่สิ่งที่ธนาคารมองคือผลตอบแทนมหาศาลที่ได้รับจากการใช้บริการบนแพลตฟอร์ม เพราะนั้นหมายถึงฐานลูกค้าเก่า ซึ่งธนาคารนำร่องการบริการชำระเงินผ่าน แอพพลิเคชั่น แม่มณี ให้กับร้านค้า และยังได้กลุ่มลูกค้าใหม่เข้ามาให้บริการทำให้สามารถเห็นข้อมูลเชิงลึกว่าเป็นกลุ่มที่มีความต้องการทำธุรกิจแบบไหน มีการจับจ่ายใช้ในการซื้อสินค้าอย่างไรบ้าง
ด้วยเป้าหมายที่ SCB ต้องการจากการเปิดแพลตฟอร์มดังกล่าว ไม่ใช่จำนวนเงิน กลับเป็นจำนวนร้านค้าที่เข้าร่วมช่วงแรกราว 20,000 ร้านค้า และหวังจะเพิ่มเป็น 40,000-50,000 ร้านค้าในช่วงสิ้นปีนี้ และดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาเป็นผู้ใช้บริการผ่านแพลตฟอร์ม Robinhood ให้ได้มากที่สุด
ท่ามกลางรายได้ของธนาคารที่ปี 2563 และอาจจะข้ามไปถึงปี 25564 จะลดลง ตามผลกระทบของเศรษฐกิจที่ SCB มองว่าจะติดลบ 5.6 % การเติบโตจากสินเชื่อลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2563 ติดลบ 1.4 % และอาจจะชะลอไปทั้งปี จนทำให้ต้องปรับลดเป้าหมายการเติบโตรายได้ปีนี้ลงจากสินเชื่อที่ติดลบ การตัดลดค่าใช้ลงเพื่อให้องค์กรยืดหยุ่นมากขึ้น
หากเทียบกับกลุ่มรายได้การเติบโตที่เพิ่มขึ้นและยังไปได้อีกอยู่ที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย จากค่าธรรมเนียมและการให้บริการ ดั งนั้นหาก SCB พลิกให้บริการที่ธนาคารมีอยู่สามารถไปหนุนการปล่อยสินเชื่อรายย่อยมากขึ้น แทนการคิดรูปแบบเดิม คือให้ค่าธรรมเนียมและบริการเป็นการเสริมธุรรมการการปล่อยสินเชื่อ เท่ากับ SCB กลับหัวตีลังกาเพื่อพลิกธุรกิจอีกรอบ
"คิด" - Google News
June 09, 2020 at 07:31PM
https://ift.tt/2XN9eVj
'SCB' คิดกลับหัวรอบใหม่ รุกบริการต่อยอดสินเชื่อ - กรุงเทพธุรกิจ
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog
No comments:
Post a Comment