โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP นักวางแผนการเงิน
จากผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2562 (เดือน ม.ค. – ธ.ค. 2562) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนไทยที่มีหนี้สินมีประมาณ 9.8 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 45.2 ของครัวเรือนทั้งหมดโดยมีหนี้สินเฉลี่ย 164,055 บาทต่อครัวเรือน เห็นหนี้ต่อครัวเรือนเยอะขนาดนี้ ก็ต้องรีบอ่านต่อเลย
คนไทยเป็นหนี้เพื่ออะไรบ้าง คำตอบก็คือ
• ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ร้อยละ 37.2
• ใช้ในการซื้อบ้าน/ที่ดิน ร้อยละ 35.3
• ใช้ทำการเกษตร ร้อยละ 14.6
• ใช้เพื่อการทำธุรกิจ ร้อยละ 11
• ใช้เพื่อการศึกษา ร้อยละ 1.3
• หนี้อื่นๆ ร้อยละ 0.6
ผลกระทบจากการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับปัจจัยลบจากการส่งออก ภัยแล้ง และ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้รายได้ครัวเรือนไทยลดน้อยลง แต่ก็ทำให้หนี้สินครัวเรือนไทยในไตรมาสหนึ่ง ปี 2563 ชะลอตัวลงด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เพราะรายได้ลดและไม่มั่นใจว่าจะมีรายได้ต่อป่าวหลัง Covid แต่ยังไงเราก็ต้องกินต้องใช้ สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ เลยไม่ได้ลด ปัญหาคือ หนี้พวกนี้ดอกแพงมาก แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี
ไม่ว่าตอนนี้เรายังเป็นหนี้ดี (คือยังไม่เบี้ยวหนี้) หรือ เป็นหนี้เสีย หรือที่เรียกกันศัพท์ทางการเงินว่า หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL (Non-performing Loan) คือ หนี้ที่ค้างชำระมากกว่า 3 เดือนติดต่อกัน (ถ้าค้างจ่ายค่างวดติดกัน 30-90 วันเป็นกลุ่มที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษเรียกว่า Special mention (SM)) ถ้าอยากแก้หนี้ให้ได้ ทำยังไงดี
1.เดินทางยังต้องวางแผน แก้หนี้ยากกว่าการเดินทาง จึงยิ่งจำเป็นต้องวางแผน จะวางแผนเดินทาง ยังต้องหาข้อมูล จะวางแผนแก้หนี้ ก็ต้องหาข้อมูลเช่นกัน เริ่มจากข้อมูลของตัวเราเองเลย
• ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของเราเองตลอดเดือน เพื่อดูว่าทั้งเดือนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายไหนพอจะลดหรือตัดทิ้งได้บ้าง อย่างเช่น ค่าหวย ค่าเหล้า ฯลฯ ตัดค่าใช้จ่ายแล้ว รายได้พอใช้มั๊ย ถ้าไม่พอมีทางไหนเพิ่มรายได้ได้บ้าง ทำทุกอย่างแล้วมีเหลือเก็บออมหรือไม่
• ทำบัญชีทรัพย์สินว่ามีอะไรบ้าง อะไรพอจะขายได้ ถ้าขายน่าจะขายได้เท่าไหร่ (เอาราคาตลาดที่คิดว่าขายได้จริงๆนะ อย่าเอาราคาที่เราอยากขาย อย่างเช่น อยากขายรถที่เพิ่งซื้อมา 1 ล้านบาท ขายจริงๆอาจได้แค่ 7 แสน ก็ต้องใช้ราคา 7 แสน)
• ทำบัญชีหนี้สิน แบ่งแยกประเภทหนี้ จำนวนหนี้ แยกประเภทหนี้ เป็นกลุ่มแบงค์ นอนแบงค์ หนี้นอกระบบ จดรายละเอียดให้ครบ เรียงลำดับหนี้จากน้อยไปหามาก เอาไว้ดูเวลาจะชำระหนีสิ้น
เลือกจ่ายตัวที่ดอกเบี้ยแพงสุดก่อน และเลือกจ่ายตัวที่จำนวนหนื้น้อยๆก่อน เพื่อจะได้ตัดปัญหาทีละเปลาะ โดยการเอาเงินออมที่ได้จากการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย หรือ การขายทรัพย์สินมาชำระหนี้ แต่ถ้ายังรู้สึกไม่พอเป็นปัญหาอยู่อีก ทำอย่างไรดี เบี้ยวหนี้เลยดีมั๊ย อย่านะ ไม่เข้าตาจนจริงๆ ไม่อยากให้ทำเลย
สำหรับคนที่ยังเป็นหนี้ดีอยู่
ตอนนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ จัดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ครอบคลุมทั้งลูกหนี้รายย่อยที่ใช้บริการสินเชื่อและบัตรเครดิต SME ไปจนถึงลูกหนี้ที่เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ มาตรการช่วยเหลือก็มีทั้งให้ลูกหนี้สามารถพักชำระเงินต้น หรือเลื่อนชำระหนี้ได้ โดยยังไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ และไม่ทำให้เสียประวัติการผ่อนชำระในฐานข้อมูลเครดิตบูโร (ดูรายละเอียดเบื้องต้นของการช่วยเหลือจากธนาคารที่ตนใช้บริการอยู่ได้ที่ https://ift.tt/2NbDEuB)
มาตรการช่วยเหลือที่สถาบันการเงินประกาศ เป็นเพียงมาตรการช่วยเหลือขั้นต่ำของแต่ละแห่งเท่านั้น ลูกหนี้ยังสามารถเจรจากับสถาบันการเงินให้ยืดหยุ่นหรือผ่อนปรนเพิ่มเติมได้ในหลายรูปแบบ ถ้าเห็นว่ายังผ่อนชำระไม่ไหว เช่น ขอให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ก็ได้ นอกจากนี้ ลูกหนี้ยังสามารถขอรีไฟแนนซ์ (refinance) หนี้บัตรไปที่สถาบันการเงินอื่นที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า เช่น ปัจจุบันธนาคารออมสิน มีสินเชื่อบัตรเงินสด GSB Refinance ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยใน 4 ปีแรกเพียงร้อยละ 8.50-10.50 ต่อปี
สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาการติดต่อสถาบันการเงิน หรือยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ ก็สามารถโทรปรึกษาศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ของแบงค์ชาติได้ที่โทร. 1213
สำหรับลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย
อย่าเพิ่งท้อนะ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาและเป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือนธันวาคม 2563 (มีสถานะค้างชำระเกินกว่า 90 วัน) คลินิกแก้หนี้ของบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ช่วยได้ จุดน่าสนใจของคลินิกแก้หนี้ คือ
1.รวมหนี้จากทุกเจ้าให้เหลือหนี้เพียงก้อนเดียว ทำสัญญาแก้หนี้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น
2.ผ่อนยาวได้ ไม่เกิน 10 ปี มีดอกเบี้ยขั้นต่ำ 4 – 7% ต่อปี ถูกกว่าบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดที่เราต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 18% หรือ 28%
3.มีการให้ความรู้ด้านการเงินกับคนที่เข้ามาปรึกษา เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อให้สามารถบริหารจัดการหนี้สินของตนเองได้
แถมช่วงเมษายน – กันยายน ยังมีโปรโมชั่นให้กับลูกหนี้ของโครงการคลินิกแก้หนี้ คนที่จ่ายสม่ำเสมอได้ลดดอกเบี้ย 2% ส่วนคนที่จ่ายไม่ไหว ก็เลื่อนกำหนดชำระหนี้ให้ 6 เดือน ไม่ถือเป็นผิดนัด ไม่เสียประวัติ สนใจรายละเอียด ติดต่อ
– Call center 0 2610 2266
– www.คลินิกแก้หนี้.com
– www.debtclinicbysam.com
– Line ID @debtclinicbysam
อ่านข่าว
ธปท.ลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อ 2-4% อัดฉีดรายย่อยเพิ่ม ก่อนเป็น NPLs
"คิด" - Google News
June 19, 2020 at 09:04PM
https://ift.tt/2V3aGRU
ความจริงความคิด : เป็นหนี้ ไม่หนี ไม่ท้อ - https://ift.tt/2Sk5m8m
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog
No comments:
Post a Comment