6 มิถุนายน 2563 | โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
33
เปิดวิธีคิด "ดอกเบี้ย" ของ "บัตรเครดิต" ที่ควรทำความเข้าใจก่อนใช้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และใช้ให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของวงจรหนี้บัตรเครดิต
"บัตรเครดิต" ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในมือของใครหลายๆ คนที่สามารถเป็นได้ทั้งตัวช่วยชั้นดี หากใช้อย่างเข้าใจ แต่ก็กลายเป็นศัตรูการเงินตัวฉกาจได้ง่ายๆ ถ้าใช้ไม่เป็น!
"กรุงทพธุรกิจออนไลน์" พาไปดูหลักการคิด "ดอกเบี้ยบัตรเครดิต" เบื้องต้นที่คนใช้บัตรเครดิตทุกคนควรรู้ก่อนใช้ เพื่อให้เข้าใจหลักการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่อาจทำให้คุณกลายเป็นหนี้โดยไม่จำเป็นได้ง่ายๆ หากละเลยการทำความเข้าใจเรื่องนี้..
ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า โดยทั่วไปบัตรเครดิตจะมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 18% ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการชำระคืนของผู้ใช้บัตรเครดิตเอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบหลัก ได้แก่
- จ่ายเต็มจำนวน จ่ายตรงเวลา ไร้ดอกเบี้ย
วิธีใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องและควรทำทุกครั้งที่ใช้ คือ "รูดเท่าไร จ่ายเท่านั้น" เนื่องจากบัตรเครดิตจะมี "ระยะปลอดดอกเบี้ย" ทำให้เราสามารถเลื่อนระยะเวลาการใช้เงินออกไปได้ โดยไม่เสียดอกเบี้ยใดๆ เลย
เช่น บัตรเครดิตสรุปยอดทุกวันที่ 2 กำหนดชำระในทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน เมื่อใช้บัตรเครดิตหลังจากวันที่สรุปยอดตั้งแต่แรกๆ เช่น หลังวันที่ 3 ของเดือนถัดไปเท่ากับว่ายอดหนี้ที่ใช้จะไปรวมกับยอดหนี้ในเดือนถัดไป นั่นเท่ากับว่าเรามีเวลาร่วม 1 เดือน ก่อนจะนำเงินไปชำระเงินคืนโดยไม่เสียดอกเบี้ย ซึ่งช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการใช้เงินในแต่ละเดือนได้สบายๆ
ทั้งนี้ ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยของบัตรเครดิตแต่ละใบ จะมีแตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขของบัตร และธนาคารด้วย
สำหรับปัญหา "หนี้บัตรเครดิต" ที่หลายคนกำลังประสบ ส่วนหนึ่งเกิดจากการชำระไม่ตรงเวลา หรือไม่เต็มจำนวน ซึ่งนำไปสู่การคิดดอกเบี้ยต่อไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลา จนกว่าจะชำระหนี้หมดเต็มจำนวน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งลักษณะการชำระคืนที่ไม่เต็มจำนวน หรือไม่ตรงเวลา ส่งผลให้ถูกคิดดอกเบี้ยต่างกันออกไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- จ่ายเต็มจำนวน แต่ไม่ตรงเวลา โดน "ดอกเบี้ย 2 เด้ง"
เด้งที่ 1 : ดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตร
หากจ่ายช้ากว่าวันครบกำหนดชำระที่ธนาคารกำหนด แม้จะชำระเต็มจำนวนแต่จะต้องถูกคิดดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตรจนถึงวันที่ชำระคืนครบทั้งหมด
วิธีคิด : ยอดที่ใช้จ่ายทั้งหมด x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันจากวันที่ทำรายการถึงวันที่สรุปยอดบัญชี / จำนวนวันใน 1 ปี
เช่น ซื้อสินค้า 20,000 บาท จะถูกต้องคิดดอกเบี้ยดังนี้ 20,000 x 18% x 22 (วันที่ใช้ 12 ม.ค. ถึงวันสรุปยอดบัญชี 2 ก.พ.) / 365 ดอกเบี้ยเด้งแรก = 216.99 บาท
เด้งที่ 2 : อาจมีค่าทวงถามหนี้ และอาจมีผลต่อประวัติชำระหนี้
อัตราค่าทวงถามหนี้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด โดยส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100 บาท/รอบบัญชี ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคารซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไข อัตราค่าธรรมเนียมติดตามทวงถามหน้ีสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
เพราะฉะนั้น หากผู้ใช้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตรงตามเวลา และจ่ายครบทั้งหมด จะต้องถูกคิดดอกเบี้ย และค่าทวงถามเบื้องต้นใน 1 รอบบิล เป็นเงิน 216.99 + 100 บาท = 316.99 บาท ที่สำคัญคือตราบเท่าที่ยังไม่สามารถจ่ายเงินคืนได้ครบทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย บัตรเครดิตจะเรียกเก็บดอกเบี้ยด้วยวิธีการนี้ไปเรื่อยๆ
- จ่ายตรงเวลา แต่ไม่เต็มจำนวน โดนดอกเบี้ย 3 เด้ง
พฤติกรรมการชำระบัตรเครดิตที่พบบ่อยที่สุดคือ "จ่ายไม่เต็มจำนวน" "จ่ายแค่ขั้นต่ำ 10% ของยอดหนี้" หรือ "จ่ายน้อยกว่าขั้นต่ำ 10% ของยอดหนี้" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรหนี้บัตรเครดิตที่ยากจะหลุดรอด ตราบใดที่ยังมีพฤติกรรมการจ่ายเหมือนเดิมต่อไปเรื่อยๆ
หลักการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตเมื่อชำระไม่เต็มจำนวน แม้จะไม่เสียประวัติการชำระหนี้แต่จะต้องถูกคิดดอกเบี้ย และค่าทวงถามเพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ได้ไม่คุ้มเสียในระยะยาว
ตัวอย่างเช่น รูดเงินซื้อสินค้า 20,000 บาท และชำระคืนขั้นต่ำเพียง 10% เป็นเงินจำนวน 2,000 บาท ผู้ใช้จะต้องเสียดอกเบี้ย 2 เด้งในกรณีที่ชำระขั้นต่ำเพียง 10% หรือเสียดอกเบี้ย 3 เด้งในกรณีที่ชำระน้อยกว่า 10% ของยอดหนี้ทั้งหมด
เด้งที่ 1 : ดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตร
วิธีคิด : ยอดที่ใช้จ่ายทั้งหมด x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันจากวันที่ทำรายการถึงวันที่สรุปยอดบัญชี / จำนวนวันใน 1 ปี
ในกรณีนี้จะถูกคิดดอกเบี้ยเด้งแรกจากยอดที่ใช้ไปทั้งหมด คือ 20,000 x 18% x 22 / 365 = 216.99 บาท
เด้งที่ 2 : ดอกเบี้ยของยอดที่ยังไม่ได้ชำระ หรือยอดคงค้าง
นอกจากการคิดดอกเบี้ยจากยอดทั้งหมดแล้ว หากชำระไม่ครบทั้งจำนวน จะต้องถูกคิดดอกเบี้ยเด้งที่ 2 จากยอดหนี้ที่เหลือ หรือยอดที่ยังไม่ได้ชำระด้วย โดยจะถูกตามวิธีดังต่อไปนี้
วิธีคิด : ยอดที่ยังไม่ได้ชำระ (ยอดคงค้าง) x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันจากวันที่ชำระคืนบางส่วน ถึงวันสรุปยอดบัญชีครั้งถัดไป / จำนวนวันใน 1 ปี
จากกรณีตัวอย่าง มียอดคงเหลือ 18,000 บาท (ยอดเต็ม 20,000 บาท ชำระขั้นต่ำไป 2,000 บาท) สามารถคำนวณตามวิธีคิดได้ดังนี้ 18,000 x 18% x 12 /365 = 168.66 บาท
เพราะฉะนั้น ผู้ใช้จะต้องถูกคิดดอกเบี้ยในยอดบิลถัดไป เป็นเงิน 216.99 (เด้งที่ 1) + 168.66 (เด้งที่ 2) = 385.65 บาท และจะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยวิธีการนี้ไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถจ่ายเงินคืนได้ครบทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย
นอกจากการชำระขั้นต่ำ 10% แล้ว ในกรณีที่ผู้ใช้ชำระเงินคืนไม่ถึง 10% ในแต่ละรอบบิล จะถูกคิดดอกเบี้ยตามวิธีข้างต้นทั้ง 2 เด้งแล้ว ยังจะโดน เด้งที่ 3 คือ อาจมีค่าทวงถามหนี้เพิ่มขึ้นมาตามเงื่อนไขของธนาคารเฉลี่ยประมาณ 100 บาท/รอบบิล (ตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร) รวมถึงมีผลต่อประวัติชำระหนี้ ที่อาจส่งผลต่อเครดิตในการของสินเชื่อในอนาคตได้
"คิด" - Google News
June 05, 2020 at 05:32AM
https://ift.tt/2MALygI
'บัตรเครดิต' คิด 'ดอกเบี้ย' อย่างไร? ทำความเข้าใจก่อนรูด - กรุงเทพธุรกิจ
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog
No comments:
Post a Comment