Pages

Thursday, June 18, 2020

คอลัมน์โลกธุรกิจ - หลักการคิดของทางการไทยที่ชวนให้สงสัย กับการไม่ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศตัวเอง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

apapikirnya.blogspot.com

nn มาตามสัญญาที่บอกไว้วานนี้ใน “หมุนตามทุน”ว่าจะมาอธิบายความว่าเหตุใดที่ “โลกการค้า” ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ และ คณะกรรมการปกป้อง...ที่ตัดสินใจยกเลิกมาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นรีดร้อนไม่เจือชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน

ประเด็นแรก...การที่อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศได้ขอขยายเวลาบังคับใช้มาตรการปกป้องฯ ของอุตสาหกรรมภายในเป็นไปตาม พ.ร.บ. มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นพ.ศ. 2550 มาตรา 36 ที่ได้ระบุไว้ว่า “เมื่อคณะกรรมการเห็นสมควร หรือเมื่อมีคำร้องขอภายในระยะเวลาที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนดจากผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันหรืออุตสาหกรรมภายในว่ามีความจำเป็นต้องขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการปกป้องต่อไปอีกเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย โดยมีหลักฐานแสดงว่าอุตสาหกรรมภายในอยู่ระหว่างการปรับตัว ให้ขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการปกป้องต่อไปอีกได้ตามที่จำเป็น” ซึ่งอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ ก็ได้ทำการแสดงข้อมูล และเอกสารประกอบให้คณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้องเห็นแล้วว่าอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศมีความตั้งใจ ที่จะดำเนินการตามแผนปรับตัวที่ได้ชี้แจงไว้ต่อคณะกรรมการโดยในช่วงปี 2560-2561 และที่ผ่านมาอุตสาหกรรมภายในได้ดำเนินการทำโครงการเกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาศักยภาพการผลิต รวมถึงการพัฒนาสินค้าเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นตัวอย่างความมุ่งมั่นในการปรับตัวของอุตสาหกรรมภายในอย่างชัดเจนและหากไม่มีมาตรการปกป้อง อุตสาหกรรมภายในก็ไม่สามารถดำเนินการโครงการต่างๆ ตามที่วางแผนไว้ต่อไปได้...


ประเด็นที่สอง...เหตุผลที่คณะกรรมการปกป้องใช้ตัดสินใจ เหตุผลการไม่ขยายมาตรการ “เนื่องจากข้อมูลไม่แสดงให้เห็นความเสียหายอย่างร้ายแรงที่เกิดกับอุตสาหกรรมภายใน หรือที่คุกคามอุตสาหกรรมภายในอันเนื่องมาจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น”ต้องบอกว่าขัดกับเจตนารมณ์ และหลักการของมาตรการปกป้อง..ที่เป็นเช่นนั้น เพราะที่ “การกล่าวอ้างว่าปริมาณนำเข้าของสินค้าที่ถูกพิจารณาลดลง”จึงควรยกเลิกมาตรการนั้น ไม่ถูกต้อง...เพราะปริมาณการนำเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณามีปริมาณลดลงนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติของการบังคับใช้มาตรการปกป้องอยู่แล้ว เนื่องจากการบังคับใช้มาตรการนั้นมีเจตนารมณ์ให้มีปริมาณนำเข้าลดลง เพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน และให้อุตสาหกรรมภายในใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการดำเนินการตามแผนปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้...ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นเหมือนกันกับทุกประเทศทั่วโลกที่มีการประกาศใช้มาตรการปกป้อง...!! จะใช้ข้ออ้างนี้มายกเลิกการบังคับใช้มาตรการได้อย่างไร..??? นอกจากนี้จากข้อมูลการนำเข้า พบว่า การนำเข้าลดลงในช่วงปี 2558 -2560 ประมาณปี 1 หมื่นตัน...แต่หลังจากนั้นในปี 2561-2562 ปริมาณการนำเข้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2560 กล่าว โดยในปี’61 เพิ่มขึ้น 3-4 พันตัน หรือ 21% และในปี’62 เพิ่มขึ้นประมาณ 1.3 หมื่นตัน หรือ 84% และหากดูตัวเลขในปี’62 ทั้งปี เมื่อเทียบกับปี’60มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 105% ดังนั้นปริมาณนำเข้าเริ่มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ต้องถือว่าเป็นภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างชัดเจน

ขณะเดียวกันยังมีสถานการณ์สุ่มเสี่ยงของการไหลทะลักของสินค้านำเข้าจากประเทศจีน โดยขณะนี้พบว่าในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 จีนที่มีระดับการผลิตสินค้าเหล็กที่สูงขึ้นจากปี 2562อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการใช้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 คาดว่าจะลดลงถึง 36% หรือคิดเป็นปริมาณ 70 ล้านตัน และในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ความต้องการใช้จะยังคงลดลงจากช่วงเดียวกันของปี’62 ส่งผลให้ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 จีนมียอดสินค้าคงคลังอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 49.3 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2562 หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 103% ส่งผลให้ไทยที่เป็นเป้าหมายหลักในการส่งออกของจีนมีความเสี่ยงที่จะเกิดปรากฏการณ์ไหลทะลักของสินค้าเหล็กที่รุนแรงจากจีน และสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงเพิ่มเติมจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังประสบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่ในขณะนี้... ผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้เขารู้เขาเตรียมการรับมือกันทั้งโลก...กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ คณะกรรมการปกป้อง...ไม่รู้ ไม่สำนึกเลยจริงๆ หรือไง...

ประเด็นที่สาม...การกล่าวอ้างว่า “ผลประกอบการของอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศดีขึ้น” โลกการค้า...ยังงงกับความคิดของ คณะกรรมการปกป้องว่าใช้อะไรเป็นดัชนีชี้วัด เพราะว่า...ข้อมูลผลประกอบการของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศในช่วงปี 2560-2562...พบว่ายังคงมีการขาดทุน และมีแนวโน้มในทิศทางขาดทุนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559....ซึ่งเป็นผลมาจากการที่อุตสาหกรรมภายในมีความพยายามที่จะแย่งส่วนแบ่งตลาดมาจากสินค้านำเข้าโดยการขายสินค้าในราคาที่สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ เพราะมีความกังวลต่อการใช้มาตรการ 232 ของสหรัฐฯ และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจึงต้องมีความพยายามในการรักษาและขยายฐานลูกค้าเพิ่ม แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมภายในยังไม่สามารถปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้อย่างแท้จริง จึงทำให้ต้องประสบกับผลประกอบการขาดทุน และจากการที่อุตสาหกรรมภายในมีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงปี 2560– 2562 ในทางการดำเนินธุรกิจถือว่าเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง...!! ขาดทุนต่อเนื่อง 3 แบบนี้...บอกว่าดีขึ้นได้ไง...ไม่เข้าใจ...และก็ไม่เข้าใจอีกว่า ในเมื่อผู้ประกอบการในประเทศเจ๊งกันระเนระนาดขนาดนี้...ทำไมกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ คณะกรรมการปกป้อง..จึงยังไม่คิดจะใช้มาตรการปกป้องอีกหรือ...?? หรือต้องรอให้เหลือแต่ซากก่อน...

ประเทศเวียดนาม ประกาศใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าเหมือนกันกับไทย ทำให้การนำเช่าลดลง จาก 1.6 ล้านตัน ในปี 2558 ลดลงเหลือแค่ 3 หมื่นตัน ในปี’61...แต่เวียดนามก็ยังคงต่ออายุการบังคับใช้มาตรการปกป้อง...ในขณะที่ผู้ประกอบการของเวียดนามยังคงมีกำไรและได้ต่ออายุมาตรการฯ แต่ประเทศไทยผู้ประกอบการขาดทุนต่อเนื่องหลายปี ใกล้เจ๊งกันทั้งประเทศ แต่ทางการไทยกลับกลับมีการพิจารณาไม่ต่ออายุมาตรการปกป้อง...ไม่แปลกใจทำไมเศรษฐกิจเวียดนามจึงได้พัฒนาจนแซงหน้าไทยไปแล้ว ทั้งที่เทียบโครงสร้างพื้นฐานหลักไทยดีกว่าเยอะ...!! ไม่ผิดถ้าจะบอกว่า...วิธีคิดของทางการเวียดนาม...ดีกว่าวิธีคิดของทางการไทย...เยอะเลย...

กระบองเพชร

Let's block ads! (Why?)



"คิด" - Google News
June 17, 2020 at 04:00PM
https://ift.tt/3fEe1id

คอลัมน์โลกธุรกิจ - หลักการคิดของทางการไทยที่ชวนให้สงสัย กับการไม่ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศตัวเอง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment