Pages

Tuesday, July 28, 2020

คิดต่างแต่กติกาเดียวกัน - ไทยรัฐ

apapikirnya.blogspot.com

ในขณะที่จะต้องมีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี เพื่อเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจใหม่ และมีข่าวการแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรี ขณะที่เศรษฐกิจกำลังดิ่งสู่ก้นเหว และมีการชุมนุมของนิสิตนักศึกษาในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ผลการสำรวจความเห็นประชาชนของโพล พบว่าความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งซูเปอร์โพลและสวนดุสิตโพล

ผลการสำรวจของซูเปอร์โพล มีกลุ่มตัวอย่างถึง 57.3 ตอบว่าไม่สนับสนุนรัฐบาล เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งก่อน กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก 39.1% ในช่วงการอภิปรายเงินกู้ เพิ่มขึ้นเป็น 55.2% ในช่วงกรรมการบริหารพรรคประชารัฐลาออก เพิ่มเป็น 55.6% ในช่วงต่อ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน

เช่นเดียวกับผลการสำรวจของสวนดุสิตโพล คนส่วนใหญ่ 52.88% ให้ความเชื่อมั่นในรัฐบาลลดลง ผลของซูเปอร์โพลต่อมา มีกลุ่มตัวอย่างถึง 67.9% อยากให้เปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศ 63.6% เห็นว่าเป็นไปได้ที่ม็อบเยาวชนจะลุกลามบานปลายกลายเป็นวิกฤติการเมือง รัฐบาลจึงไม่ควรมองว่าเป็นแค่ม็อบมุ้งมิ้ง

ผู้ที่ติดตามการชุมนุมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาหรือเยาวชนคงจะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่ง นั่นก็คือการชุมนุมของนักศึกษาในสมัย 14 ตุลาคม 2516 หรือพฤษภาคม 2535 กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ แต่คราวนี้การชุมนุมกระจายไปทั่วประเทศ เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในเกือบทุกจังหวัด ทั่วประเทศไทย

กลุ่มนักศึกษาและเยาวชนกลับมาชุมนุมอีกครั้ง ในขณะที่ประเทศปกครองโดยรัฐบาลที่สืบทอดมาจากรัฐประหาร เช่นเดียวกับในอดีต จึงมีข้อเรียกร้องคล้ายๆกัน คือให้ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ให้หยุดคุกคามประชาชน และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สะท้อนถึงแนวความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง เป็นกลุ่มอิสรภาพนิยมกับอำนาจนิยม

ความคิดเห็นที่ต่างกันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่สามารถบังคับให้ทุกคนคิดเหมือนกันได้ แต่อาจทำให้ทุกฝ่ายยึดถือกติกาเดียวกันได้ นั่นคือรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “ประเทศไทยปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” แม้จะเห็นต่าง แต่ต้องยึดกติกาประชาธิปไตย

ถ้ารัฐบาลยังยึดมั่นในประชาธิปไตย จึงต้องรับฟังความคิดเห็นของนิสิต นักศึกษา ยอมพูดเจรจากับตัวแทนเยาวชน และอาจทำตามข้อเรียกร้องบางข้อ เช่น การหยุดคุกคามประชาชนด้วยการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างจริงจังโดยประชาชนมีส่วนร่วม จะ “รวมไทยสร้างชาติ” ฝ่ายเดียวได้อย่างไร.

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"คิด" - Google News
July 28, 2020 at 04:11PM
https://ift.tt/2BCNXWe

คิดต่างแต่กติกาเดียวกัน - ไทยรัฐ
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment