Pages

Friday, June 26, 2020

สายหรือยัง กว่าจะคิดได้...? - ผู้จัดการออนไลน์

apapikirnya.blogspot.com


"โสภณ องค์การณ์"

ขุนพลนักกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยตัวเลข จีดีพี อีอีซี สารพัดจะอัดฉีดทั้งเงินและคำพูดประโลมใจออกมายอมรับแล้วว่าเศรษฐกิจพอเพียง การบริโภคภายในประเทศ การฟื้นฟูฐานรากเศรษฐกิจชนบทเท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศไทยพ้นจากภาวะถดถอย

เห็นข่าวโปรยหัวในเว็บ “ผู้จัดการ” วันพุธ เป็นอย่างนี้...

“รองฯ สมคิด” ยอมรับจะมีบางธุรกิจที่ทยอยปิดตัวลงในเดือน ก.ค.นี้ เหตุโลกยังไม่ฟื้น ท่องเที่ยว-ส่งออกยังทำได้ยาก สั่งเดินหน้าใช้เศรษฐกิจพอเพียงสร้างไทย หวังปรับเศรษฐกิจประเทศให้เข้มแข็ง เติบโตจากภายใน เปลี่ยนพื้นดินให้เป็นผลผลิตที่มีมูลค่าขึ้นมา เพื่อใช้เลี้ยงดูคนไทยทั้งประเทศ...”

เท่ากับจนตรอก ยอมรับสารภาพว่า โครงสร้างการพัฒนาแบบเดิมๆ ที่เน้น จีดีพี นั้นช่วยอะไรไม่ได้เมื่อเผชิญวิกฤตแบบเฉียบพลัน ใหญ่แค่ไหนก็ล้มได้ ถ้าไม่พร้อม ดังจะเห็นได้ว่าทุกประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอยถึงขั้นซบเซาชะลอตัวอย่างแรง

ตัวเลข จีดีพี ปีนี้ของประเทศไทยติดลบ 8.1 เปอร์เซ็นต์ โดนเข้าแบบนี้ขุนพลเศรษฐกิจต้องหาเงินมาอัดฉีดเพิ่ม นั่นคือแหล่งเดิมคือ ธกส. ของรัฐ แต่มีแผนใหม่เพื่อหาทางใช้เงินเพราะเงิน 1.9 ล้านล้านบาท ใช้เป็นเบี้ยหัวแตกคงเอาไม่อยู่

ยิ่งเสือหิว เสือโหย น้ำลายย้อยรอจะเข้ามาช่วยจัดสรรปันส่วนตามสิทธิพึงได้พึงมี หลังจากปรับ ครม. ก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านมองเห็นภาพความสิ้นหวัง โครงการต่างๆ ที่วางไว้มีถึง 1.3 ล้านล้านบาท เกินงบไปกว่า 2 เท่าตัว แค่นี้ก็เห็นเค้าลางของหายนะ

ดังนั้นต้องใช้เงินจาก ธกส. อีกกว่า 3 แสนล้านบาทเพื่อกระตุ้นภาคชนบท หนุนด้วยโครงการ “พลังงานสร้างชาติ” ทำให้ชาวบ้านอยากรู้ว่าที่ผ่านมาความมั่งคั่งทางพลังงานของชาติไม่อยู่ในกระเป๋าของใคร เพราะชาวบ้านจ่ายแพงมาโดยตลอด

ถ้าเงินของ ธกส. ถูกขอดเกลี้ยง ก็คงต้องควานหาแหล่งเงินใหม่มากระตุ้นอีก รู้ทั้งรู้ว่าการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไม่ได้ผล แต่ก็ยังจะทำซ้ำซาก คราวนี้อ้างว่าต้องหาทางช่วยเหลือคนตกงานจากส่วนกลางเพื่อให้อยู่รอดด้วยอาชีพใหม่ในบ้านเกิด

ที่ผ่านมา หลักเศรษฐกิจพอเพียง ฐานรากเศรษฐกิจชนบท พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยถูกมองข้ามมาโดยตลอด แผนการพัฒนาเศรษฐกิจมุ่งแต่อุตสาหกรรม โครงการขนาดใหญ่ การลงทุนจากต่างประเทศ ด้วยเงื่อนไขอวยกลุ่มทุนใหญ่สารพัด

ผลที่ตามมาคือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กอบโกยความมั่งคั่งตามแบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ปลาใหญ่กินปลาเล็ก พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยตายเรียบ เพราะนำการจัดระเบียบสังคมเพื่อให้บ้านเมืองสวยงาม มีศูนย์การค้าใหญ่โตเชิดหน้าชูตาประเทศ

เพียงแค่ 5 ปี เศรษฐกิจที่พอจะไปได้ แม้จะทุลักทุเล กลายเป็นสภาวะตายซาก เมื่อคนขาดอำนาจการซื้อ พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการรายย่อยทำมาหากินไม่ได้ การซื้อวัตถุดิบไม่มี ภาคเกษตรเผชิญกับการแข่งขัน หาตลาดยาก ค่าเงินบาทแข็งเกินจริง

ยิ่งเห็นปัญหา ยิ่งเกาไม่ถูกที่คัน ดันการใช้จ่ายด้วยนโยบายกระตุ้น เงินอัดฉีดสุดท้ายเข้าไปอยู่ในกระเป๋ากลุ่มธุรกิจใหญ่มีเครือข่ายดักดูดเงินทุกระดับ ไม่มีเงินเล็ดรอดถึงมือพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ธุรกิจ SME และ Start-up ขาดเงินทุนหมุนเวียน

ทำให้บ้านเมืองมีโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมแบบรวยกระจุก จนกระจาย ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ติดอันดับต้นๆ ของโลก หนี้ครัวเรือนอยู่ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ หนี้ภาครัฐอยู่ในขั้นสุ่มเสี่ยง สร้างหนี้เพิ่มทุกปี

ทำงบประมาณขาดดุล ต้องกู้เงินแต่ละปี 4-5 แสนล้านบาท ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด สร้างภาพสวย สร้างวิมานในอากาศ ป้อนความหวังให้คนอิ่มแทนอาหาร ก้าวย่างแต่ละจังหวะมีแต่สนับสนุนให้คนใช้เงิน ทั้งๆ ที่คนไทยมีอัตราการออมต่ำมาก

โครงการอย่างนี้ประเทศไทยเคยเจ็บสาหัสปางตาย แทบล่มสลายต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟช่วงหลังจากลดค่าเงินบาทในปี 2540 หลังจากป่าวร้องว่าไทยจะเป็น “เสือเศรษฐกิจตัวที่ 5” ในเอเชีย เป็น NICs สุดท้ายกลายเป็นแมวป่วยอมโรคเรื้อรัง

ยังไม่เข็ด ไม่จำบทเรียน ทั้งๆ ที่มีคำเตือนให้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ผลสุดท้ายเมื่อเจอวิกฤตการระบาดของโควิด-19 ภาคอุตสาหกรรมช่วยเหลืออะไรไม่ได้ แม้แต่คนงาน พนักงานก็รักษาไว้ไม่ได้ ต้องเลิกจ้าง เพิ่มจำนวนคนว่างงานอีก

ซ้ำรอยวิกฤตจากต้มยำกุ้ง มีแต่เศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น ทำให้อยู่รอด แต่มาคราวนี้อ้างเศรษฐกิจพอเพียงระดับฐานรากในชนบท เปลี่ยนพื้นดินให้เพิ่มมูลค่า ทำท่าจะส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เสริมโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก เอาไว้หางบอีกรอบ

ก่อนหน้านี้ไม่เคยแม้แต่จะมีในความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ มีแต่ จีดีพี อีอีซี โครงการขนาดใหญ่ ช่วยให้เศรษฐกิจทะยานโลด มีและปิดปากเงียบเรื่องสารพิษเคมีเกษตร 3 ตัว และพืชผีดิบจีเอ็มโอที่กลุ่มเกษตรขนาดยักษ์ผลักดัน

เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการความคิดของขุนพลเศรษฐกิจ? เพิ่งเห็นความจริง ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะจะดันอย่างอื่นก็ไปไม่รอด เพราะที่ผ่านมาพึ่งพาแต่การส่งออก และการท่องเที่ยว ไม่มีแผนรองรับสำหรับวิกฤตฉุกเฉิน

เหมือนเชื่อมั่นตัวเอง เอาไข่ไปใส่รวมกันไว้ในตะกร้าใบเดียว พอก้าวผิดท่าพลาดหกล้มหัวคว่ำคะมำหงายท้อง ไข่ทั้งตะกร้าตกแตกไม่เหลือ ได้แต่นั่งมอง

ขุนพลเศรษฐกิจ หัวหน้าคณะ 4 กุมารอ้วนพี เป้าหมายของการโดนเด้งโดยกลุ่มกระสันอำนาจและเงิน ยังเอาตัวไม่รอด จะเหลือติด ครม. สักกี่คนยังไม่รู้ จะมาวาดโครงการใหญ่ ต้องใช้เงินเยอะ สุดท้ายคงต้องให้พวกมาใหม่ได้เบิกจนบานแน่!

กว่าจะได้ทำโครงการที่คาดว่าคนส่วนใหญ่ คนด้อยโอกาสจะได้ประโยชน์ คนจะทำก็มาถึงวาระที่ต้องจากไปเพราะการแก่งแย่งอำนาจ เว้นแต่ว่าลุงตู่ผู้นำจะมีทีเด็ด กล้ายืนหยัดขัดขวางเสือหิวที่แวดล้อมตัวลุงป้อมที่จะถูกยกให้เป็นหัวหน้าพรรค

แต่สุดท้าย เมื่อจำเป็น ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของตัวเองก่อน ลุงตู่ก็ย่อมไม่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ เพราะคณะ 3 ลุงได้อยู่ด้วยกันตั้งแต่เป็นนายร้อย มาเสี่ยงด้วยกันหลังรัฐประหาร แบ่งอำนาจในรัฐบาล ยืนยงคงกระพันมากว่า 6 ปีแล้ว

แต่จะไปด้วยกันตลอดรอดฝั่ง ลงเอยเหมือนกันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับโชคชะตาและอนาคตของแต่ละคนซึ่งมีเดิมพันและเป้าหมายชีวิตต่างกัน

ส่วนอนาคตและชะตากรรมประเทศ จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับคณะ 3 ลุงด้วย

Let's block ads! (Why?)



"คิด" - Google News
June 26, 2020 at 03:17AM
https://ift.tt/3ieFZTQ

สายหรือยัง กว่าจะคิดได้...? - ผู้จัดการออนไลน์
"คิด" - Google News
https://ift.tt/2zKBRJC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment